You dont have javascript enabled! Please enable it!
Back to top

เหล้าบ๊วยรูปแบบต่างๆ (Variations of Umeshu)


สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องประเภทของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) กันอีกครั้งหนึ่ง จากบทความก่อนหน้านั้น ได้เคยแบ่งประเภทเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ออกตามเบส (ฐาน) ของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ไปแล้วนั้น แต่การแบ่งประเภทเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจโลกของเหล้าบ๊วยอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น วันนี้จึงถือโอกาสมาพูดถึงเหล้าบ๊วยรูปแบบต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ถ้าพร้อมแล้วอย่ารอช้าไปอ่านกันได้เลย


ฮงกะกุ อุเมะชู (Honkaku Umeshu / 本格梅酒)

มาเริ่มกันที่ ฮงกะกุ อุเมะชู (Honkaku Umeshu / 本格梅酒) ที่ทุกคนคงคุ้นหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็อาจจะสงสัยว่ามันต่างจากเหล้าบ๊วย หรืออุเมะชู (Umeshu / 梅酒) ที่เราอยู่จักกันอย่างไรบ้าง

ฮงกะกุ อุเมะชู (Honkaku Umeshu / 本格梅酒) คืออะไร ?

เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2015 สมาคมสุรา และลิเคียวร์แห่งญี่ปุ่น (Japan Spirits & Liqueurs Association) ได้จัดตั้ง มาตรฐานความสมัครใจในการติดฉลากสินค้าเฉพาะของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้เฉพาะลูกบ๊วย น้ำตาล/ขัณฑสกร และแอลกอฮอล์เป็นวัตถุดิบตั้งต้น และไม่ใช้สารเพิ่มความเป็นกรด สารแต่งสี หรือสารปรุงแต่งกลิ่นใด ๆ จึงจะถูกระบุว่าเป็น “ฮงกะกุ อุเมะชู (Honkaku Umeshu / 本格梅酒)” หรือก็คือเหล้าบ๊วยแท้ ๆ แบบต้นตำหรับนั้นเอง

ความแตกต่างระหว่าง “เหล้าบ๊วยแท้ ๆ (Honkaku Umeshu / 本格梅酒) ” และ “เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒)” เป็นอย่างไร ?

เหล้าบ๊วยปกติทั่วไปในท้องตลาดส่วนมากจะเติมสารปรุงแต่งต่าง ๆ ลงไป เช่น สารเพิ่มความเป็นกรด สารแต่งกลิ่น สารแต่งสี สารแต่งกลิ่น และอื่น ๆ จึงเป็นปัญหาในการแยกแยะได้ยากระหว่างเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) และเหล้าบ๊วยแท้ ๆ (Honkaku Umeshu / 本格梅酒) จึงเป็นสาเหตุที่ถูกกำหนดมาตรฐานใหม่ออกมา ให้ใช้แค่ผลบ๊วยโดยไม่ต้องพึ่งสารเติมแต่งใด ๆ เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ไม่มีสารเติมแต่งซึ่งทำจากบ๊วย น้ำตาล/ขัณฑสกร และแอลกอฮอล์เท่านั้นจะถูกเรียกว่า “เหล้าบ๊วยแท้ ๆ (Honkaku Umeshu / 本格梅酒)” และเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่มีสารเติมแต่งต่าง ๆ จะถูกเรียกเรียกว่า “เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒)” ทำให้ลูกค้าเลือกผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในจังหวัดวาคายามะ การวิเคราะห์ความแตกต่างของปริมาณส่วนผสมที่ใช้งานระหว่าง “เหล้าบ๊วยแท้ ๆ (Honkaku Umeshu / 本格梅酒)” และ “เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒)” เปิดเผยว่า “เหล้าบ๊วยแท้ ๆ (Honkaku Umeshu / 本格梅酒)” มีแนวโน้มที่จะประกอบด้วยโพลีฟีนอลและโพแทสเซียมจำนวนมากซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น


อุเมะชู เก็นชู (Umeshu Genshu / 梅酒原酒)

มาต่อกันที่ อุเมะชู เก็นชู (Umeshu Genshu / 梅酒原酒) ก่อนอื่นต้องมาเรียนรู้กันก่อนว่าเหล้าที่ใช้คำว่า เก็นชู “Genshu / 原酒” คืออะไร?

เก็นชู คือสาเกดิบที่ถูกหมัก และบีบอัดออกมาโดยไม่มีการเติมน้ำลงไป ในการผลิตสาเก มีกระบวนการที่เรียกว่า “การรดน้ำ” ที่ใช้ปรับปริมาณแอลกอฮอล์โดยการเติมน้ำใน สาเกดิบ / เก็นชู (Genshu / 原酒) หรือหมายถึงสาเกที่ไม่ได้รับ ไฮเดรต (Hydrate) และไม่ได้เติมน้ำลงไป ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว สาเกไฮเดรท หรือสาเกที่เติมน้ำจึงมีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 15% ในขณะที่สาเกดิบ / เก็นชู (Genshu / 原酒) มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงประมาณ 20%

ดังนั้นอุเมะชู เก็นชู (Umeshu Genshu / 梅酒原酒) คือเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ใช้สาเกที่ไม่ได้ผ่านการปรับความแรงของแอลกอฮอล์ในขั้นตอนสุดท้าย มาเป็นเบสในการผลิตจึงทำให้อุเมะชู เก็นชู (Umeshu Genshu / 梅酒原酒) มีความแรงของแอลกอฮอล์ค่อนข้างมากและเป็นที่ถูกใจของใครหลาย ๆ คน นั้นเอง


คันจุกุ อุเมะชู (Kanjuku Umeshu / 完熟梅酒)

ต่อมาที่ คันจุกุ อุเมะชู (Kanjuku Umeshu / 完熟梅酒) รู้หรือไม่ว่า เหล้าบ๊วยส่วนใหญ่ทำมาจากผลบ๊วยสีเขียวสด ที่ผลบ๊วยมีความแข็ง และมีกลิ่นเพียงเล็กน้อย เก็บเกี่ยวมาเพื่อทำเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) โดยเฉพาะ และเมื่อมีบ๊วยสีเขียวแล้ว ก็ย่อมต้องมีบ๊วยสุกที่มีสีออกเหลืองและแดง และกลิ่นหวานและหอมของผลไม้ที่สุกเต็มที่ โดยทั่วไปจะนำบ๊วยสุกเหล่านี้มาทำเป็นบ๊วยแห้ง ซึ่งคันจุกุ อุเมะชู (Kanjuku Umeshu / 完熟梅酒) นั่นก็คือเหล้าบ๊วยที่ทำมาจากบ๊วยสุกนั่นเอง ซึ่งเหล้าบ๊วยที่ทำจากบ๊วยสุกนี่เอง จะให้รสชาติที่กลมกล่อม ความหอมและความหวานที่เป็นธรรมชาติ แตกต่างไปจากเหล้าบ๊วยปกติที่ใช้บ๊วยสีเขียว


โคะคุโท อุเมะชู (Kokutou Umeshu / 黒糖梅酒)

ตรงตามชื่อประเภทเหล้านั้นเลย คือเหล้าบ๊วยน้ำตาลทรายแดง เป็นเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่ทำจากน้ำตาลทรายแดง โดยใช้น้ำตาลทรายแดงที่เป็นผง/ก้อน ผสมลงไป เนื่องจากใช้น้ำตาลทรายแดง จึงเป็นเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีรสชาติเข้มข้น และล้ำลึกมีเฉดสีเข้มจากสีของน้ำตาลทรายแดงที่ละลายผสมกับเบสเหล้า น้ำตาลทรายแดงอาจมีภาพลักษณ์ว่าหวานเกินไป แต่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่มีความหวานที่ทำให้สดชื่น เนื่องจากรสชาติของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ชนิดนี้ จึงเข้ากันได้ดีกับการดื่มแบบออนเดอะร็อค และใส่น้ำแข็งเกล็ด นอกจากนี้ กลิ่นของบ๊วยยังชัดเจนจึงสามารถดื่มพร้อมกับชาดำ หรือทานเป็นเครื่องดื่มที่เป็นเหมือนของหวานได้ด้วยเช่นกัน


นิโกริ อุเมะชู (Nigori Umeshu / にごり梅酒)

เหล้าบ๊วยนิโกริมีกระบวนการผลิตแตกต่างจากเหล้าบ๊วยปกติ วิธีการพื้นฐานของการดองบ๊วยจะเหมือนกับที่เรารู้ ๆ กันอยู่ทั่ว ๆ ไป แต่มีจะการผสมเนื้อของบ๊วยที่ถูกคั้นอย่างหยาบไว้ ผสมลงไปด้วย ซึ่งจะมีการใช้ผลบ๊วยที่ใช้ในการดองเหล้าบ๊วย หรือผลบ๊วยไม่ได้ใช้ดองเหล้าบ๊วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับสูตรของผู้ผลิตนั้น ๆ จึงทำให้เหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) มีรสผลไม้ที่ชุ่มฉ่ำ กลิ่นบ๊วยที่กลมกล่อมและกลิ่นหอมสดชื่น แม้ว่าจะมีความหนาแน่นของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) แต่ก็เป็นที่นิยมในฐานะของเหล้าบ๊วยที่เป็นเหมือนของหวาน ที่รสชาติกลมกล่อม และดื่มง่ายจนเหมือนคุณดื่มน้ำผลไม้ที่มีเนื้อผลไม้ผสมอยู่ ดังนั้นเพื่อให้สามารถสัมผัสกับเนื้อผลไม้ได้ดีที่สุด ควรดื่มกับน้ำแข็งเกล็ด หรือจะผสมกับน้ำผลไม้ต่าง ๆ เพื่อดื่มก็อร่อยเช่นกัน นอกจากนี้เยลลี่บ๊วยที่ใช้เหล้าประเภทนี้ยังมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากเยลลี่ทั่วไป ดังนั้นถ้ามีโอกาสก็อยากแนะนำให้ลองใช้ดู


สปาร์คกลิ้ง อุเมะชู (Sparkling Umeshu / スパークリング梅酒)

สปาร์คกลิ้ง อุเมะชู เป็นเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) ที่มีกรดคาร์บอนิกผสมอยู่ตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งแตกต่างจากการผสมโซดาเอง กลิ่นหอมสดชื่นของผลบ๊วยถูกกระตุ้นด้วยกรดคาร์บอนิก ทำให้เกิดรสชาติที่คงค้างอยู่ในคอที่สดชื่น และปลอดโปร่ง นอกจากนี้ เนื่องจากการใช้กรดคาร์บอนิก ทำให้เกิดความหวานที่ลงตัวอย่างพอดี ซึ่งดื่มง่าย และเป็นที่ชื่นชอบของผู้หญิง โดยพื้นฐานแล้ว ควรดื่มแบบเสตรท หรือออนเดอะร็อค


หลังจากที่ได้อ่านบทความมาจนถึงตอนนี้ หลายท่านคงเข้าใจรูปแบบต่าง ๆ ของเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) มากยิ่งขึ้น และคลายความสงสัยลงไปได้บ้างแล้ว แต่ยังมีเหล้าบ๊วย (Umeshu / 梅酒) บางตัวเช่น คันจุกุ นิโกริ อุเมะชู (Kanjuku  Nigori Umeshu / にごり梅酒) หรือ ฮงกะกุ โคะคุโท อุเมะชู (Honkaku Kokutou Umeshu / 本格黒糖梅酒) ด้วยหนิ แล้วเหล้าบ๊วยเหล่านี้คืออะไร เรื่องนี้ไม่ยากเลยก็แค่เป็นการรวมกันของเหล้าบ๊วย 2 ประเภท เช่น คันจุกุ นิโกริ อุเมะชู (Kanjuku  Nigori Umeshu / にごり梅酒) คือการใช้ผลบ๊วยที่สุกมาทำแล้วใส่เนื้อลงไปให้เหล้ามีความข้น หรือ ฮงกะกุ โคะคุโท อุเมะชู (Honkaku Kokutou Umeshu / 本格黒糖梅酒) คือ เหล้าบ๊วยที่ใช้วัตถุดิบตามที่มาตรฐานกำหนด แล้วใช้น้ำตาลทรายแดงใส่ลงไปนั่นเอง ตัวอื่น ๆ ก็เช่นกัน หลังจากนี้ก็ไม่ต้องมานั่งงงกันอีกต่อไปแล้ว


นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นยังมีเหล้าประเภทแปลก ๆ อีกมากมายแตกย่อยลงไป อาทิ เหล้าบ๊วยพริก , เหล้าบ๊วยชิโสะ , เหล้าบ๊วยชาดำ และ อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละที่จะค้นคว้า และผลิตออกมา จึงไม่ของอธิบายลึกลงไปมากกว่านี้ เพราะจะแตกยิบย่อยจนเกินไป ซึ่งในวันนี้ที่ได้กล่าวไปนั้น ถือเป็นเหล้าบ๊วย ประเภทใหญ่ ๆ ที่ทุกท่านต้องได้เจออย่างแน่นอน ถ้ายังอยู่ในวงการนี้ต่อไป และวันนี้ขอจบการแนะนำประเภทของเหล้าบ๊วยเอาไว้แต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่กับบทความดี ๆ ในครั้งถัดไป…


Credit :

Choya
Kurand
Hakutsuru
美味しいお酒
Food-Drink


สาระเพิ่มเติม

โพลีฟีนอล (Polyphenol) คือ สารพฤกษเคมี ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ โดยส่วนมากแล้วจะพบได้ในพืชผักผลไม้ กินแล้วมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง ลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยปรับสมดุลของระบบย่อยอาหารได้อีกด้วย

โพแทสเซียม (Potassium) จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจอาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป


ARE YOU 20 ? ONLY 20 YEARS OR OLDER TO VISIT THIS SITE. PLEASE VERIFY YOUR AGE TO VIEW CONTENT.
X
error: Alert: Content selection is disabled!!